ข้อมูลทั่วไป





               ตำบลวิเชตนคร เดิมได้รวมกับตำบลแจ้ห่ม ซึ่งได้แยกตัวจากตำบลแจ้ห่มในปี พ.ศ. 2528 ได้ประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นต้นมา
               ตั้งอยู่เลขที่ 230 บ้านใหม่สวนดอกคำ หมู่ที่ 1 ตำบลวิเชตนคร อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม ประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดลำปาง ประมาณ 54 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 21,875 ไร่
                              - ทิศเหนือติดกับตำบลแม่สุก
                              - ทิศใต้ติดกับตำบลบ้านสา
                              - ทิศตะวันตกติดกับอำเภอเมืองปาน
                              - ทิศตะวันออก ติดกับตำบลแจ้ห่ม และตำบลปงดอน
               องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนครมีหมู่บ้านในเขตความรับผิดชอบ จำนวน 11 หมู่บ้าน ดังนี้
                              - บ้านใหม่สวนดอกคำ หมู่ที่ 1
                              - บ้านหลุก หมู่ที่ 2
                              - บ้านใหม่ผ้าขาว หมู่ที่ 3
                              - บ้านสวนดอกคำ หมู่ที่ 4
                              - บ้านสันมะเกลือ หมู่ที่ 5
                              - บ้านสันกลาง หมู่ที่ 6
                              - บ้านทุ่งทอง หมู่ที่ 7
                              - บ้านใหม่เหล่ายาว หมู่ที่ 8
                              - บ้านปงคอบ หมู่ที่ 9
                              - บ้านสันติสุข หมู่ที่ 10
                              - บ้านทุ่งวิเชต หมู่ที่ 11

               จำนวนประชากรของตำบลวิเชตนคร
               จำนวนประชากรในเขต อบต. 7,727 และจำนวนหลังคาเรือน 2,714 หลังคาเรือน
               ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าว มันฝรั่ง ข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจตำบลวิเชตนคร ในปีหนึ่งๆ นำเงินสู่ตำบลวิเชตนคร ประมาณ 50,000 บาท / ครัวเรือน
               ประชาชนชาวตำบลวิเชตนครมีอัธยาศรัยไมรตรีอันดีงามตามลักษณะของชาวล้านนาไทย ไม่มีโจรผู้ร้าย อยู่กันอย่างสงบ เอื้ออาธรต่อกันและกัน ตามประเพณีของชาวล้านนาแต่โบราณ แต่อาจจะมีความขัดแย้งในด้านความคิดในเรื่องการเมืองอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับเกิดความรุนแรงเนื่องจากว่ารัฐธรรมนูญฉบับ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ส่งเสริมให้ประชาชนได้มี ส่วนร่วมในทางการเมืองทุกระดับจึงเกิดแนว ความคิด ที่หลากหลายขึ้นในสังคมชุมชนท้องถิ่นและเป็นนิมิตหมายที่ดีต่อการปฎิรูปการเมืองการปกครองตามเจตนารมของกฎหมายรัฐธรรมนูญ