ประวัติความเป็นมา


             เมืองวิเชตนคร ได้ก่อสร้างเมืองปี พ.ศ. 1897 ซึ่งตรงกับสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย โดยมีเจ้าพ่อพญาคำลือเป็นอุปราชใหญ่ ซี่งได้รับการแต่งตั้งให้ครองเมืองวิเชตนคร ท่านได้ร่วมกับเจ้านายฝ่ายเหนือ คือ เจ้าพญาวัง เจ้าลานช้างเวียงพิงค์ เขลางค์นครเวียงโกศัย พิษนุโลก อุตรดิตถ์ ปราบปรามพวกเงี้ยว ซึ่งได้รุกรานกับชาววิเชตนครในสมัยนั้น และได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าที่ยกมาตีเอาเมืองวิเชตนครได้ เจ้าพญาคำลือจึงได้ทะนุบำรุงวัดวาอารามในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะวัดอักโขชัยคีรี ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ คู่เมืองวิเชตนคร ได้ก่อสร้างบ้านแปลงเมือง อยู่เมืองวิเชตนคร คือ บริวณหนองปึ๋ง หมู่ที่ 1 ตำบลวิเชตนครและเป็นที่ตั้งขององค์การบริหารส่วน ตำบลวิเชตนคร ในปัจจุบัน
             องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร เดิมเป็นตำบลหนึ่งของตำบลแจ้ห่ม ได้แยกจากตำบลแจ้ห่ม เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้รับยก ฐานะ จากสภาตำบลวิเชตนคร เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และเป็น ราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น ตามการจัดแบ่งส่วนาชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดให้มีหน้าที่ ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนาธรรมและหน้าที่อื่นตามกฎหมายกำหนดและนับแต่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณากำหนดและ นับแต่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาบทบาทอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์การบริหาร ส่วนตำบลได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมากรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครอง การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลังและมีอำนวจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติให้องค์กรรับผิดชอบในการจัดทำแผนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริหารสาธารณะ ที่จำเป็นแก่ท้องถิ่นตลอดจนรายได้ของท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้กำหนดรูปแบบการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นให้มีความเป็นอิสระมากขึ้น นอกจากกฎหมายทั้งสองฉบับแล้วยังมีกฎหมายอื่นอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
             * พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542
             * พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542
             * พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542
             ทำให้เห็นได้ว่า มีการกำหนดตัวบกกฎหมายและกลไกทางกฎหมาย เพื่อให้การกระจายอำนาจเป็นไปอย่างโปรงใสและสามารถถูกตรวจสอบ จากประชาชน และองค์กรต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
             ดังนั้น ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 องค์การบริหารส่วนตำบลวิเชตนคร จึงมีบทบาทอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวาง โดยมิ ได้มีหน้าที่เพียงในการ บริการด้านสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานแก่ประชาชนเท่านั้น แต่ยังขยายบทบาทหน้าที่ออกไปรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลอีกด้วยและเป็นองค์กรที่เปิดให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารงานและตรวจสอบการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มมากขึ้น